Google

Saturday, October 17, 2009

Ideology : อุดมการณ์

ค่านิยมทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม ในระดับพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็นแนวความคิดที่เป็นพื้นฐานสำหรับระบบสังคมหรือ "วิถีชีวิต" ในอุดมคติ อุดมการณ์จะเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ คือ (1) ธรรมชาติของระบบการเมือง (2) การใช้อำนาจ (3) บทบาทของปัจเจกชน (4) ธรรมชาติของระบบเศรษฐกิจและสังคม และ (5) จุดประสงค์ของสังคม อุดมการณ์ในฐานะที่เป็นระบบความเชื่อขั้นพื้นฐานนอกจากจะเป็นที่รวมค่านิยมพื้นฐานของสังคมแล้ว ในตัวของมันเองก็ยังจะกลายเป็นค่านิยมสำคัญที่สมควรได้รับการปกป้องและมีหลายอย่างที่จะต้องเผยแพร่ไปสู่สังคมอื่น ๆ ด้วย

ความสำคัญ อุดมการณ์เป็นพลังพลวัตรในสมการอำนาจ เนื่องจากเอกภาพและชีวิตชีวาที่อุดมการณ์สร้างขึ้นมานี้ สามารถนำไปใช้ต่อต้านรัฐหรือกลุ่มรัฐอื่นได้ด้วย แนวความคิดสามารถเอาชนะจิตใจมนุษย์โดยไม่ต้องใช้อำนาจจัดตั้งก็ได้ แต่อุดมการณ์ต่าง ๆ แทบจะเผยแพร่ไปไม่ได้หากไม่มีการใช้การรณรงค์ด้วยสงครามอุดมการณ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจที่จัดตั้งขึ้นมา ความเชื่อทางอุดมการณ์ต่าง ๆ จะเป็นคู่แฝดมากับความเชื่อทางศาสนาหรือทางชาตินิยม และทั้งสองอย่างนี้จะคล้ายคลึงกันและช่วยเหลือเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน อุดมการณ์ส่วนใหญ่ถ้าไม่เป็นแบบปัจเจกนิยมก็จะเป็นแบบคตินิยมรวมอำนาจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในทางประวัติศาสตร์ อุดมการณ์จะเป็นพลังแบ่งแยกในกิจการระหว่างประเทศและกิจการภายในประเทศ เมื่อระบบเกิดการแข่งขันกันและผู้ถือหางของแต่ละระบบต่างมุ่งจะเอาชนะคะคานซึ่งกันและกันให้ได้

No comments:

Post a Comment