Google

Saturday, October 17, 2009

Communist Theory : Class Struggle

ทฤษฎีคอมมิวนิสต์ : การต่อสู่ของชนชั้น

ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นกระฎุมพี (ชนชั้นนายทุน) ซึ่งในลัทธิทุนนิยมนั้นความขัดแย้งนี้มีผลพวงมาจากความลำบากยากแค้นของพวกกรรมกรมีเพิ่มมากขึ้น และเกิดการแบ่งแยกอันเนื่องจากมีจิตสำนึกในเรื่องชนชั้นมากขึ้น ๆ คาร์ล มาร์กซ์ บอกไว้ว่า การต่อสู้ของชนชั้นนี้ เกิดจากความขัดแย้งในระดับพื้นฐานตามกระบวนการทางวิภาษวิธีที่มีอยู่ในลัทธิทุนนิยม อย่างเดียวกับที่เคยมีมาในระบบสังคมบรรพกาล ระบบสังคมค้าทาส และระบบสังคมศักดินานั่นเอง พวกคอมมิวนิสต์บอกว่า การขัดแย้งภายในนี่แหละจะเป็นมรรควิธีสู่การเปลี่ยนแปลงจากลัทธิทุนนิยมไปสู่ลัทธิสังคมนิยม ถึงแม้ว่าจะมีนักปฏิวัติมากมายก่อนหน้าคาร์ล มาร์กซ์มีหลักคำสอนอิงอาศัยหลักการต่อสู้ของชนชั้นนี้ก็จริง แต่คาร์ล มาร์กซ์เป็นคนแรกที่ยอมรับว่า การต่อสู้ของชนชั้นนี้มีบทบาทสำคัญในปรัชญาวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์

ความสำคัญ หลักนิยมคอมมิวนิสต์ที่ว่าด้วยการต่อสู้ของชนชั้นนี้ มีสมมติฐานว่า ในสังคมของพวกนายทุนจะมีเพียงสองชนชั้น ซึ่งสองชนชั้นนี้จะมีผลประโยชน์ขัดกัน และแต่ละชนชั้นจะกลายเป็นศัตรูคู่แค้นกันและเพื่อสนับสนุนให้เกิดพัฒนาการเหล่านี้ขึ้นมา พวกปลุกระดมคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศ ได้ใช้วิธีปลุกความรู้สึกทางชนชั้นที่รุนแรงขึ้นในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพ พวกที่วิจารณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ปฏิเสธแนวความคิดที่ว่าการต่อสู้ของชนชั้นนี้เป็นเรื่องที่แน่นอน ต้องเกิดขึ้นแน่ไม่มีทางหลีกเลี่ยงพ้น พวกนักวิจารณ์เหล่านี้ชี้ไปที่ตัวอย่างของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยบอกว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ เห็นว่าตัวเองเป็นพวก"ชนชั้นกลาง" ทั้งนั้น และที่คาร์ล มาร์กซ์ พยากรณ์ไว้ว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกกรรมกรจะตกระกำลำบากมากยิ่งขึ้น จะมีความยากจนและการตกงานเพิ่มขึ้น ซึ่งก็จะนำไปสู่ความรู้สึกแบ่งแยกผลประโยชน์ทางชนชั้นนั้น ก็มิได้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ของสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่

No comments:

Post a Comment