Google

Saturday, October 17, 2009

Communist Theory : Socialist Program ทฤษฎีคอมมิวนิสต์ : โครงการสังคมนิยม

การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ ซึ่งก็จะมีการเปลี่ยนแปลงสังคมจากทุนนิยมไปสู่สังคมนิยม และมีการปูทางไว้เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายของคอมมิวนิสต์แท้ ๆ คือ สังคมที่ปราศจากชนชั้นและปราศจากรัฐ จุดมุ่งหมายหลัก ๆของโครงการสังคมนิยมที่ คาร์ล มาร์กซ์ บอกไว้ในหนังสือเรื่อง คอมมิวนิสต์ มานิเฟสโต (ค.ศ.1848)มีดังนี้ (1) กำจัดกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินของเอกชนทั้งหมด (2) มีการเก็บภาษีก้าวหน้า (3) มีการยกเลิกสิทธิในการสืบทอดมรดก (4) ให้รัฐเข้าควบคุมการธนาคารและการสินเชื่อ (5) ให้รัฐเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการคมนาคมและการขนส่ง (6) ให้ดำเนินการเกษตรกรรมแบบรวมศูนย์และสร้างกองทัพอุตสาหกรรม (7) ให้ทุกคนมีพันธกรณีต้องทำงานเท่าเทียมกัน (8) กำจัดแรงงานเด็ก และ (9) จัดการศึกษาแบบให้เปล่าแก่เด็กทุกคนในโรงเรียนของรัฐ นักทฤษฎีคอมมิวนิสต์บอกไว้ว่า โครงการสังคมนิยมต่าง ๆ เหล่านี้จะได้มีการดำเนินการในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ คือ ช่วงที่เป็นเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ

ความสำคัญ โครงการสังคมนิยมที่คาร์ล มาร์กซ์นำเสนอไว้นี้ มีลักษณะคล้ายกับนโยบายพรรคการเมือง ที่มุ่งหมายจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในข้อเสนอทางนโยบายหากสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ถึงแม้ว่ารัฐคอมมิวนิสต์โดยทั่วไปจะได้ดำเนินการตามโครงการส่วนใหญ่เหล่านี้ แต่ก็มิใช่ว่ามีแต่รัฐคอมมิวนิสต์เท่านั้นที่ดำเนินการโครงการเหล่านี้ แม้แต่รัฐนายทุนทั้งหลาย รัฐบาลก็ได้ดำเนินโครงการเหล่านี้ในบางส่วนก็มี ที่ได้ดำเนินการทั้งหมดก็มี คาร์ล มาร์กซ์ และผู้นำคอมมิวนิสต์ในยุคแรก ๆ มีความเชื่อว่า การปฏิรูปทางเศรษฐกิจและทางสังคมอย่างที่ว่ามานี้ จะไม่สามารถดำเนินการได้ในประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพราะพวกชนชั้นกระฎุมพีจะทำการคัดค้านการเปลี่ยนแปลงใด ๆที่จะคุกคามต่อบทบาทครอบงำที่พวกเขามีอยู่นั้น โครงการสังคมนิยมในสหภาพโซเวียตเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ถูกเปลี่ยนแปลงและต่อเติมเสริมแต่งอย่างมากมาย เพราะผลมาจากเก็บภาษีการขายได้เพิ่มมากขึ้น คือมากกว่าภาษีรายได้ที่เก็บได้ด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ก็เพราะในสหภาพโซเวียตมีการเกิดชนชั้นใหม่คือพวกนักปฏิบัติการและพวกข้ารัฐการขึ้นมา นอกจากนี้แล้วก็ยังได้มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจโดยได้นำระบบแรงจูงใจด้านกำไรและระบบเศรษฐกิจแบบการตลาดมาใช้

No comments:

Post a Comment