มาตรฐาน หรือเป้าหมาย ที่บุคคล กลุ่ม สังคม หรือชาติ ประกาศและมุ่งมั่นที่จะบรรลุถึง ค่านิยมจะทำหน้าที่เป็นแนวทางสำหรับให้ประชาชนได้พิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องและพึงประสงค์ หรือสังคมในอุดมคติควรจะเป็นแบบใดแน่ ค่านิยมของสังคมจะเข้าไปรวมอยู่ในกรอบกว้าง ๆ ของอุดมการณ์ แล้วกลั่นตัวออกมาในรูปของอุดมคติ หรือที่นิยมเรียกกันว่า "วิถีชีวิต" ของสังคมนั้น ๆ หรือสังคมอื่นด้วยก็ได้ ค่านิยมนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับอำนาจ เกียรติภูมิ และการแสวงหาสถานภาพของรัฐด้วยก็ได้
ความสำคัญ เอกภาพและความแข็งแกร่งของสังคมหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็ตาม จะขึ้นอยู่กับสมานฉันท์ในค่านิยมว่าที่มีอยู่นั้นมีอยู่ในระดับมากน้อยขนาดไหน ค่านิยมมีแนวโน้มว่าจะมีความหลากหลายกระจายอยู่ทั่วไปในสังคมที่ยอมให้มีความหลากหลายของรัฐที่มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย แต่ในสังคมประชาธิปไตยนี้ ถึงจะมีความหลากหลายอย่างไร แต่ก็จะมีมาตรฐานระดับพื้นฐานบางอย่างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจและระบบสังคมที่สอดประสานกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ในสังคม ส่วนในสังคมเผด็จการแบบอำนาจอาญาสิทธิ์ ก็จะมีการพยายามที่จะสร้างค่านิยมให้เกิดบูรณาการขึ้นมามาก ๆ โดยให้สอดสัมพันธ์โดยตรงกับเป้าหมายภายในและเป้าหมายต่างประเทศของรัฐนั้นอีกเหมือนกัน การขัดแย้งทางค่านิยมในสังคมใดสังคมหนึ่ง หรือในระหว่างสังคมกับสังคมก็ตาม ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การปฏิวัติภายในหรือเกิดสงครามกลางเมือง รวมตลอดไปจนถึงการสู้รบระหว่างชาติด้วยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น การขัดแย้งทางค่านิยมขั้นพื้นฐานระหว่างประชาคมฮินดูกับประชาคมมุสลิม ก็ได้เป็นเหตุให้เกิดการแบ่งแยกประเทศอินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษออกเป็นรัฐเอกราช 2 รัฐ คืออินเดียและปากีสถานเมื่อปี ค.ศ. 1947 ส่วนการขัดแย้งทางค่านิยมที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้นั้น เป็นการขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ระหว่างฝ่ายที่มีแนวความคิดแบบประชาธิปไตยกับฝ่ายที่มีแนวความคิดแบบลัทธิคอมมิวนิสต์
No comments:
Post a Comment