ร้านจำหน่ายเครื่องใช้ในบ้าน

ร้านจำหน่ายเครื่องใช้ในบ้าน
ร้านจำหน่ายเครื่องใช้ในบ้าน

Google

Saturday, October 17, 2009

Communist Theory : Economic interpretation of History

ทฤษฎีคอมมิวนิสต์ : การใช้ปัจจัยทางเศรษฐกิจตีความประวัติศาสตร์

ข้อสมมติฐานที่ว่าระบบเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานหรือ "ปัจจัยการผลิต" ของสังคม จะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างพื้นฐานทางการเมือง ทางศีลธรรม ทางกฎหมาย ทางวัฒนธรรม และทางศาสนา กับจะเป็นพลังจูงใจที่จะชี้นำการพัฒนาสังคมจากระดับต่ำไปสู่ระดับที่สูงขึ้น "แนวความคิดว่าวัตถุนิยมเป็นตัวกำหนดประวัติศาสตร์" นี้เริ่มด้วยสมมติฐานที่ว่า กิจกรรมขั้นพื้นฐานของมนุษยชาติมีความสัมพันธ์กับการผลิตและการแสวงหาปัจจัยเครื่องยังชีพ ระบบการจัดการ ระบบกรรมสิทธิ์ และระบบการปฏิบัติการกับพลังการผลิตและการจ่ายแจกอาหารและความมั่งคั่งทางด้านวัตถุ ที่ได้สร้างขึ้นมาแล้วนั้น ล้วนเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสังคม และเมื่อมีการขัดแย้งทางชนชั้นนี้แล้วก็จะเป็นพลังจูงใจภายในให้เกิดวิวัฒนาการของสังคมขึ้นมา คาร์ล มาร์กซ์ระบุไว้ว่าปัจจัยการผลิตที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์นี้ มี 3 อย่างด้วยกัน คือ (1) แรงงาน (2) วัตถุดิบ และ (3) เครื่องมือการผลิต

ความสำคัญ ด้วยเหตุที่คาร์ล มาร์กซ์ได้เน้นไปที่บทบาทขั้นพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจ ว่ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคม และในการกำหนดรูปแบบของสถาบันต่าง ๆ ของมนุษย์ ดังนั้น จึงได้มีผู้สังเกตการณ์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า คาร์ล มาร์กซ์เป็นพวกยึดตัวแปรทางเศรษฐกิจอย่างเดียว กล่าวคือ คาร์ล มาร์กซ์บอกว่า ภายใต้ระบบทุนนิยมนั้น จะมีความขัดแย้งตามแบบวิภาษวิธี ระหว่างเทคนิคการผลิตสมัยใหม่ กับกระฎุมพีผู้ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ในรูปแบบของการต่อสู้ของชนชั้น ทั้งคาร์ล มาร์กซ์ และเองเกลส์ ตลอดจนพวกคอมมิวนิสต์ร่วมสมัยเดียวกันนั้น ต่างก็ปฏิเสธข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่บอกว่าเป็นการยึดตัวแปรทางเศรษฐกิจเพียงตัวแปรเดียวนั้น และบอกว่า ควรจะถือเรื่องนี้เป็นกระบวนการวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ไม่ควรถือว่าเป็นสัมพันธภาพแบบเหตุและผลธรรมดา อย่างไรก็ดี ทั้งคาร์ล มาร์กซ์ และพวกที่ยึดถือแนวมาร์กซิสต์ ต่างก็มักจะมุ่งไปที่ประเด็นแกนกลางสำคัญที่บอกว่า พลังทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เป็นตัวก่อให้เกิดการต่อสู้ของชนชั้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการล่มสลายของลัทธินายทุนอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้

No comments:

Post a Comment