แนวความคิดที่ว่า อำนาจอธิปไตยมิได้อยู่ที่ประชาชน แต่อยู่ประชารัฐหรือรัฐชาติและว่า ปัจเจกชนและสมาคมต่าง ๆ มีขึ้นมาก็เพื่อส่งเสริมอำนาจ เกียรติภูมิ และความมั่งคั่งไพบูลย์ของรัฐ แนวความคิดของทฤษฎีฟัสซิสต์ว่าด้วยรัฐนิยมนี้ จะปฏิเสธในเรื่องปัจเจกนิยม แต่จะให้การยกย่องชาติว่าเป็นองค์กรที่มีออร์กานิก (เสมือนหนึ่งสิ่งมีชีวิต) นำโดยผู้นำสูงสุด และจะต้องเสริมสร้างให้มีเอกภาพมีพลังและมีวินัย ภายใต้หลักการที่ว่านี้ รัฐเป็นผู้สร้างปัจเจกชนให้มีค่าขึ้นมา ซึ่งปัจเจกชนจะบรรลุถึงจุดหมายคือความมีค่าในตนนี้ได้ ก็โดยยอมอุทิศตนเพื่อความรุ่งเรืองของรัฐ
ความสำคัญ แนวความคิดของฟัสซิสต์ว่าด้วยรัฐนิยมนี้ เป็นการดัดแปลงหลักการปกครองแบบอัตตาธิปไตยที่ให้ปัจเจกชนทุกคนมอบความจงรักภักดีอย่างเต็มที่ต่อผู้นำซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของรัฐมาใช้กับยุคใหม่ จะมีนำเอาเรื่องชาตินิยม แสนยนิยม และ(ในบางรัฐฟัสซิสต์) คตินิยมเชื้อชาติ มาพร่ำสอนให้คนเกิดความรู้สึกว่า ค่านิยมต่าง ๆ ที่มีอยู่มีความสำคัญขึ้นมาได้นั้นก็เพราะรัฐเป็นผู้กำหนดให้มีค่าขึ้นมา ในรัฐฟัสซิสต์จะไม่ยอมให้คนมีความจงรักภักดีอย่างอื่นนอกเสียจากความจงรักภักดีต่อรัฐเท่านั้น อุดมการณ์ทั้งปวงของลัทธิฟัสซิสต์ในอิตาลีและในเยอรมนีในช่วงก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ถูกครอบงำโดยความเชื่อที่ว่าปัจเจกชนจะต้องมอบกายถวายชีวิตให้แก่ความศักดิ์สิทธิ์ของชาติเท่านั้น
No comments:
Post a Comment