หลักการพื้นฐานของการปกครองในระบบประชาธิปไตย ที่บ่งบอกถึงความสูงสุดของกฎหมาย เป็นการจำกัดการใช้อำนาจของเจ้าที่ของรัฐ แนวความคิดเรื่องหลักนิติธรรมนี้ ได้ให้การสนับสนุนหลักนิยมที่ว่ารัฐบาลมีอำนาจจำกัด โดยปกป้องสิทธิของปัจเจกชน จากการถูกแทรกแซงตามอำเภอใจจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ความสำคัญ หลักนิติธรรมในระบบประชาธิปไตย จะมีลักษณะตรงกันข้ามกับอำนาจส่วนบุคคลและอำนาจของผู้ปกครองที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดในรัฐอำนาจนิยม แต่ภายใต้หลักนิติธรรมนี้ ปัจเจกชนมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย และทุกคนจะยังไม่ถูกลงโทษทางอาญา จนกว่าจะได้ผ่านกระบวนการยุติธรรมมีการไต่ส่วนและลงโทษด้วยความยุติธรรมตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วเท่านั้น อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวประท้วงที่สนับสนุนให้มวลชนละเมิด "กฎหมายยุติธรรม" เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับโจมตีกฎหมายที่มีมาแต่เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิพลเมือง และกฎหมายว่าด้วยพื้นที่เลือกให้บริการ เป็นการกระทำที่ท้าทายหลักนิติธรรมในสหรัฐอเมริกาและในประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ อีกหลายประเทศ ผู้ประท้วงส่วนใหญ่เห็นว่า กฎหมายที่ว่านั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือโดย "พวกหัวเก่า" เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองผลประโยชน์ของพวกตน แต่ในขณะเดียวกันนั้น ผลประโยชน์ของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ กลับไม่ได้รับการรับรองและให้การคุ้มครอง หลักนิติธรรมจะเฟื่องฟูในรัฐประชาธิปไตยแห่งหนึ่งแห่งใดได้นั้น ก็ต่อเมื่อกลุ่มต่าง ๆ มีเอกฉันท์ทางค่านิยมร่วมกันว่าจะร่วมกันต้อต้านกฎหมายและแนวปฏิบัติใด ๆ ที่อยุติธรรม โดยใช้ช่องทางกระบวนการทางการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย
No comments:
Post a Comment